หอการค้าไทย
"หอการค้าไทย" ถือกำเนิดขึ้นจากพ่อค้าไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีแนวความคิดที่จะจัดตั้งหอการค้าขึ้นเช่นเดียวกับใน ต่างประเทศเพื่อเป็นองค์กรกลางในการอำนวยประโยชน์ให้แก่พ้อค้าและนักธุรกิจไทย โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนอีกทั้งร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทักเทียมกับนานาอารยประเทศ จนกระทั้งเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2476 จึงได้มีการจดทะเบียนก่อตั้ง "หอการค้าไทย" ขึ้น โดยมีสำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่ ณ ตึกในตรอกกัปตันบุช ถนนสี่พระยา มีพระยาภิรมย์ภักดี เป็นประธานคนแรกของหอการค้าไทย
หอการค้าแต่ละจังหวัด
รู้จักหอการค้าจังหวัด
ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะให้ภาคเอกชนในระดับจังหวัดมีการรวมตัวกันจัดตั้งสถาบันภาคเอกชน โดยเฉพาะหอการค้าจังหวัดให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการร่วมมือกับภาครัฐบาลและเอกชน
เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กอง กรอ. ในขณะนั้น) และหอการค้าไทย ออกไปชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และประโยชน์ของหอการค้าจังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด
ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัดเป็นจำนวนมากโดย ในปี 2527 ซึ่งเป็นช่วงกลางของแผนพัฒนาฯ ได้มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัด 23 หอการค้าและต่อมาในปี 2528 และ 2529 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของแผนพัฒนาฯ ได้มีการจัดตั้งอีก 33 หอการค้า จึงเห็นได้ว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 เป็นช่วงที่มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัดมากที่สุดถึง 56 หอการค้า ทำให้หอการค้าจังหวัดได้มีการจัดตั้งขึ้นทั้งสิ้น 71 หอการค้า และต่อมาในปี 2530 จึงได้จัดตั้งหอการค้าจังหวัดอีก 1 หอการค้า คือ หอการค้าจังหวัดชุมพร ซึ่งปัจจุบันหอการค้าจังหวัดได้มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัดครบ 76 จังหวัด